กิจกรรมเด่น



ผลการปฏิบัติงานที่ดี (Best Practice)

1.     กิจกรรม : การออกแบบผ้าขาวม้า
2.     จุดเด่น/เหตุผล/ความสำเร็จ/ผลที่ปรากฏ
ผ้าพื้นบ้าน ผ้าทอด้วยกี่หรือหูกพื้นบ้าน ตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ มักทอด้วยฝ้ายหรือไหม ผ้าพื้นบ้านหรือผ้าทอมือมีกรรมวิธีการทอต่างๆกัน เช่น ทอเรียบๆไม่มีลาย เรียกผ้าพื้น ทอเป็นลวดลายเรียก ผ้ายก ทอเป็นลวดลายด้วยการจก เรียก ผ้าจก ผ้าทอเป็นลวดลายโดยการขิด  เรียก ผ้าขิด ทอเป็นลวยลายด้วยการมัดย้อม เรียก ผ้ามัดหมี่การทอผ้าเป็นอาชีพเสริมที่สำคัญของชาวบ้าน กรรมวิธีและเทคนิคในการทอผ้าให้เกิดลวดลายต่างๆ เป็นเทคนิคและ ความสามารถของแต่ละคน     คุณแม่ข่าย แก้วแสนสาย อายุ ๖๑ ปี อาชีพ รับจ้าง บ้านเลขที่ ๓๙  หมู่ที่๒ บ้านท่าช้าง ต.แม่วะ อ.เถิน   จ.ลำปาง ๕๒๒๓๐ ได้เริ่มเรียนรู้การทอผ้าจากมารดาและครอบครัวตั้งแต่อายุ ๑๗ ได้นำความรู้ที่มีอยู่ มาต่อยอด โดยเริ่มทอลายใหม่ๆ ลวดลายที่เป็นที่นิยมของท้องตลาด จนเป็นที่สนใจของคนในชุมชนและสามารถนา มาขายเป็นอาชีพเสริม ในเวลาว่างจากการทำ ไร่ ทำนา มาจนถึง
 วิธีการดำเนินงาน       
          การออกแบบผ้าขาวม้า มีผู้รับผิดชอบดูแลกลุ่ม คือ นางณภัสชาภา ขุมเพชร์  ครู กศน.ตำบลแม่วะ  กศน.อำเภอเถิน ได้จัดกระบวนการเรียนรู้  โดยมุ่งแนวทางการพัฒนาอาชีพการออกแบบผ้าทอเพื่อจัดจำหน่าย  โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 
๑. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ในการออกแบบผ้าขาวม้า
๒. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการออกแบบผ้าขาวม้า
เป้าหมาย : เชิงปริมาณ  ประชาชนทั่วไป ในตำบลแม่วะ จำนวน    คน
                    เชิงคุณภาพ ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในการออกแบบผ้าขาวม้า

กระบวนการดำเนินงาน
                  ๑.ประชุม / หารือการจัดกิจกรรม             
  ๒.จัดทำหลักสูตร/แผนงาน / โครงการ ฯ เสนอเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
               ๓.ประสานงาน วิทยากร/ภาคีเครือข่าย ร่วมดำเนินการ
               ๔.ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการ
               ๕.นิเทศ/ติดตาม/ประเมินผลการจัดกิจกรรม กับภาคีเครือข่ายผู้ร่วมดำเนินการ
               ๖.สรุปและรายงานผลโครงการ ฯ

ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานพบว่า  ผู้เรียน  จำนวน    คน  มีความรู้  ความเข้าใจ เรื่อง กระบวนการบริหารจัดการกลุ่ม  การผลิตให้ทันต่อเวลา  การจัดหาวัตถุดิบ  และการปันผล  สามาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์  สมาชิกกลุ่มสามารถผลิต  พัฒนาผลิตภัณฑ์และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากการออกแบบผ้าขาวม้า การดำเนินการ   ผู้เรียน มีงาน สร้างรายได้ อยู่อย่างพอเพียง ยั่งยืน รวมทั้งสามารถบริหารจัดการระบบภายในกลุ่ม ให้เป็นระบบ  มีระเบียบ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
3.     ปัจจัยป้อน
1.      ด้านบุคลากร : ครู กศน.ตำบล ในพื้นที่มีความใกล้ชิดเป็นกันเองกับผู้เรียน  พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมและให้คำปรึกษาที่ดีจาก  ผู้อำนวยการ  กศน.อำเภอเถิน
2.     ด้านงบประมาณ : งบประมาณศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน  ของสำนักงาน กศน.  และงบประมาณการบริหารจัดการกลุ่ม
3.     ด้าน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ : จากโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 
4.     การบริหารจัดการ : ผู้เรียนมีการบริหารจัดการภายในกลุ่มเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันรวมทั้งมีภาคีเครือข่ายที่หลากหลายในการช่วยสนับสนุนให้กลุ่มสามารถจำหน่าย ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการและตลาด
4.     เงื่อนไข/ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ (Key Success Factors)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการนี้  คือ  การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย  ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชน  อบต.แม่วะ  รพ.สต.บ้านแม่วะหลวง  เพื่อร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน ด้านการตลาดให้กลุ่มมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
5.     ปัญหา อุปสรรค หรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน และแนวทางแก้ไขที่ประสบความสำเร็จ
          การได้รับการรับรองจากมาตรฐานอุตสาหกรรม
แนวทางแก้ไขที่ประสบความสำเร็จ : มีการประสานงาน เข้ารับการฝึกอบรม และขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ  ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยเพิ่มมูลค่าของสินค้า
6.     ข้อเสนอแนะวิธีปฏิบัติงานที่จะทำให้ดียิ่งขึ้น
แนวทางการพัฒนาต่อเนื่องในอนาคตกลุ่มจะดำเนินการจัดทำ “แหล่งเรียนรู้ด้านผ้าทอ” เพื่อรองรับสำหรับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจด้านการทอผ้า เข้ามาศึกษาดูงาน  มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย เช่น ส่ง KERRY EXPRESS  ไปรษณีย์  ออกแสดงสินค้ากับหน่วยงานต่างๆ และขายในตลาดชุมชน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น